ด้วยสี คุณสามารถสร้างอารมณ์,ดึงดูดความสนใจหรือเน้นในบางจุดได้ คุณสามารถใช้สีเพื่อกระตุ้นอารมณ์ หรือทำให้อารมณ์เย็นลง โดยการใช้สคีมสีที่ถูกต้อง คุณสามารถสร้างบรรยากาศของความอลังการ อบอุ่น หรือสงบ หรือทำให้ภาพดูขี้เล่น ดูเป็นเด็กๆ สีจึงเป็นเครื่องมือในการออกแบบที่มีพลังที่สุดถ้าคุณใช้เป็น
สีส่งผลต่อเราในหลายทาง ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สีแดงเข้มกระตุ้นความดันเลือด ในขณะที่สีฟ้าทำให้เรารู้สึกสงบ
การที่คุณสามารถใช้สีได้อย่างดีและกลมกลืนกันจะช่วยสร้างให้เกิดผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจ
วงล้อสี
credit:http://asmartbear.wpengine.netdna-cdn.com/wp-content/uploads/art-factory-color-wheel.jpeg
วงล้อสีหรือวงจรสี เป็นเครื่องมือง่ายที่สุดที่ใช้รวมสีเข้าด้วยกัน วงจรสีวงแรกถูกสร้างโดยเซอร์ไอแซค นิวตันในปี 1666 โดยระหว่างนั้นมีการถกเถียงกันมากมายว่าอันไหนเป็นอันที่ถูกต้อง แต่สรุปแล้วสุดท้ายอันที่ใช้สีแท้เป็นเกณฑ์หรือ hue ก็วินในที่สุดค่ะ
วงล้อสีออกแบบมาโดยแนวคิดที่ว่าสีอันไหนที่คุณเลือกจากวงล้อสีจะดูดีเมื่ออยู่ด้วยกัน มีความหลากหลายของการออกแบบที่สร้างขึ้นแต่แบบที่ธรรมดาเห็นได้ทั่วไปคือวงล้อสีแบบ 12 สี พื้นฐานจากสี RYB(แดงเหลืองน้ำเงิน)หรือว่ารูปแบบสีของศิลปะ
ปกติแล้วมีการรวมสีหรือจับคู่สีบางอันที่ให้ความรู้สึกสวยงามกว่าสีอื่นๆ สิ่งนี้เรียกว่าความกลมกลืนของสีหรือคอร์ดของสีโดยประกอบไปด้วยสีสองสีหรือมากกว่านั้นในวงจรสี
ผลของสีถูกออกแบบมาอย่างมีพลัง เพื่อที่จะจับคู่กับสีพื้นของคุณ สีปฐมภูมิ,ทุตติยภูมิและตติยภูมิ
ในสีแบบ RYB หรือ สีแบบลบ
สีแบบบวก
สีแบบบวกเป็นการสร้างสีขึ้นมาโดยผสมสีของแสง โดยตาของมนุษย์นั้นมีความอ่อนไหวต่อแสงในส่วนเรตินาของตา มีเซนเซอร์สองประเภทคือ rod และ cone rod เป็นเซลล์ที่สามารถทำงานได้ในกรณีที่มีความเข้มข้นของสีต่ำ แต่ไม่สามารถเห็นสีหรือภาพที่คมได้ โคนสามารถเห็นภาพหรือสีที่คมแต่ต้องการแสงเพื่อที่จะทำงาน การรวมข้อมูลเหล่านี้จากเซนเซอร์ทั้งสองที่ส่งไปสมองทำให้เราสามารถมองเห็นได้
มีโคนอยู่สามประเภท red cone อ่อนไหวต่อแสงสีแดง, green cone อ่อนไหวต่อแสงสีเขียวและ blue cone อ่อนไหวต่อแสงสีน้ำเงิน การรับรู้ของสีขึ้นอยู่กับความไม่สมดุลย์ของการกระตุ้นต่อเซลล์ในระดับต่างๆกัน
การผสมสีแบบบวกเหมือนกับทีวี ทำงานได้โดยมีความสามารถที่จะสร้างภาพที่ประกอบไปด้วยสีแดง เขียว และแสงสีน้ำเงิน ข้อมูลของระดับความเข้มของสีทั้งสามสีนั้นยังคงอยู่ สีของภาพก็ยังคงอยู่เช่นกัน การกระจายเสปคตรัมอาจจะผิดได้ แต่ถ้าระดับของความเข้มสีของแม่สีแต่ละสีถูกต้อง สีก็จะออกมาเป็นสีที่ถูกต้อง การผสมสีแบบลบนี้คือแดง,เขียว,และน้ำเงิน ถ้าเราส่องไฟฉายไปที่กำแพงมืดๆเราจะเห็นสี
credit:https://lh3.googleusercontent.com/-qy3-W9Q9hYI/TYFxxkpfP2I/AAAAAAAAAKI/z8orJNRFPao/s1600/AdditiveColorMixing.png
credit:https://cs.nyu.edu/courses/fall02/V22.0380-001/color_lecture_files/image006.jpg
การผสมสีแบบนี้ จะให้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้
แดง+เขียว=เหลือง
แดง+น้ำเงิน=ม่วง
เขียว+น้ำเงิน=คราม
สีของ Printer ที่เราใช้กันจึงเป็น เหลือง,ครามและม่วง
เมื่อทั้งหมดสีของเสปคตรัมรวมกันแล้ว จะได้แสงขาว
แดงสองส่วน+เขียวสองส่วน=ส้ม
เขียวสองส่วน+แดงสองส่วน= เหลืองมะนาว
แดงสี่ส่วน+ น้ำเงินหนึ่งส่วน+เขียว 1 ส่วน=น้ำเงิน
สีแบบลบ
สีแบบลบเป็นการสังเคราะห์ขึ้นโดยเกิดจากการสร้างสีโดยการผสม Pigment หรือเม็ดสี เช่นการเพนท์หรือหมึกใน Printer ของ computer ประเภทของสีแบบนี้ก็คือสีที่ใช้ในโลกของศิลปะและการออกแบบ ในขณะที่เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎีสีทั่วไป นักศึกษาศิลปะส่วนมากจะคุ้นเคยกับสีอย่าง แดง,เหลือง และน้ำเงิน
การผสมสีแบบลบเกิดขึ้นจากการสกัดส่วนของเสปคตรัม ความคิดของการผสมสีแบบลบคือการลดระดับของสีที่ไม่ต้องการที่จะเข้าสู่ลูกตา เช่น คุณมีภาพสีเหลือง คุณต้องการการย้อมสีที่ให้เฉพาะสีแดงกับเขียวผ่านมาถึงตาและบล็อคสีน้ำเงินออก สีทุติยภูมิของสีแบบบวกกลายเป็น สีปฐมภูมิของสีแบบลบ หรือสีตั้งต้น เพราะว่า สีทุติยภูมิหรือสีขั้นที่สองของสีแบบบวกจะสะท้อนสีปฐมภูมิของสีแบบบวก และดูดซับสีหนึ่งของสีปฐมภูมิของสีแบบบวก
credit:https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/ac/SubtractiveColorMixing.png
เหลือง+น้ำเงิน=เขียว
เหลือง+แดง =ส้ม
น้ำเงิน+แดง=ม่วง
เมื่อทุกสีรวมกันได้สีดำ
การสะท้อนและดูดซับสีแบบบวกและลบ
สี | สะท้อน | ดูดซับ |
เหลือง | แดงและเขียว | น้ำเงิน |
ม่วง | แดงและน้ำเงิน | เขียว |
น้ำเงิน | เขียวและน้ำเงิน | แดง |
ด้วยข้อมูลนี้ ถ้าเราต้องการสีแดงเราต้องผสมม่วงกับเหลือง ม่วงช่วยดูดซับเขียวและเหลืองดูดซับน้ำเงิน เหลือแต่สีแดงที่สะท้อนมาที่ตา สำหรับสีดำเป็นการรวมสีามสีเข้าด้วยกันก็คือเป็นการบล็อคแสงในทฤษฏีสี ใน Printer ใช้สีดำเช่นกัน สีใน printer นั้นไม่สมบูรณ์ แสงจากแหล่งอื่นจึงสามารถสะท้อนผ่านได้
วงจรสีของสีศิลปะ
สีสามสีที่เป็นสีปฐมภูมิของวงจรสีคือแดง,น้ำเงินและเหลือง
สีปฐมภูมิ แดง เหลือง น้ำเงินคือสีหลัก เป็นสีที่ไม่สามารถผสมด้วยสีใดๆได้หรือเรียกว่าแม่สี
สีทุตติยภูมิ สามสี เกิดจากการเอาสีขั้นต้นมาผสมกันได้เป็น ส้ม เขียว ม่วง
สีตติยภูมิ หกสี เกิดจากการเอาสีขั้นแรกกับขั้นที่สองมาผสมกัน ได้เป็น ส้มเหลือง ส้มแดง เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน ม่วงแดง ม่วงน้ำเงิน
สีร้อนและสีเย็น
วงจรสีสามารถแบ่งได้เป็นสีร้อนและสีเย็น
สีร้อนหมายถึงสีสดและมีพลังงาน และดูชัดเจนกว่าใน space
สีเย็นให้ความรู้สึกสงบ เยือกเย็น ผ่อนคลาย
สีขาวและสีดำเป็นสีกลางสามารถผสมได้กับทุกสคีมสี
สีม่วงและสีเหลืองเป็นวรรณะกลางคือเป็นทั้งร้อนและเย็น
น้ำตาลเป็นสีที่เกิดจากสีทุกสีรวมกันจึงสามารถใส่ได้กับทุกสคีมสี
credit:https://tommybeautypro.files.wordpress.com/2013/01/warm-cool-color-wheel.jpg
Tints, Shades, และ Tones
คำพวกนี้ถูกนำไปใช้ผิดๆบ่อยๆถึงแม้ว่าแนวคิดของมันจะง่ายมากก็ตาม ถ้าสีถูกทำให้อ่อนลงโดยใส่สีขาวลงไป ผลคือ Tint ถ้าสีดำถูกใส่เข้ามาสีก็จะมืดลงเรียก shade ถ้าสีเทาถูกใส่เข้ามา ผลคือ Tone
Tints – ใส่สีขาวลงในสีแท้:
Shades – ใส่สีดำลงในสีแท้:
Tones – ใส่สีเทางในสีแท้:
ความกลมกลืนของสี
เทคนิคเบื้องต้นในการสร้างสคีมสี
ด้านล่างจะเป็นการแสดงคอร์ดของสีเบื้องต้น พื้นฐานมาจากวงจรสี
ความกลมกลืนหมายถึงการจัดกันอย่างลงตัวของส่วนประกอบสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นดนตรี,กลอน,สีหรือแม้แต่ไอศกรีมซันเด
ในเชิงทัศนะ ความกลมกลืนหมายถึงสิ่งที่สร้างความพอใจให้กับตาเรา มันโต้ตอบกับผู้ดูและมันสร้างให้เกิดระเบียบและความสมดุลย์ในประสบการณ์การมอง เมื่อบางอย่างไม่กลมกลืนกัน มันจะดูน่าเบื่อและรก ตัวอย่างที่สุดๆไปเลยก็คือดูธรรมดามากซะจนผู้ดูไม่รู้สึกอยากโต้ตอบหรือมีปฏิสัมพันธ์ สมองของคนปฏิเสธข้อมูลที่เร่งสมองเราน้อยเสมอในทางหนึ่งที่สุดไปอีกด้านก็คือประสบการณ์ทางสายตาที่มากเกินไป ที่สับสนเกินไปจนผู้ดูไม่สามารถมองได้ สมองมนุษย์จะไม่โฟกัสในสิ่งที่ไม่เป็นระเบียบ สิ่งที่เราไม่เข้าใจ หน้าที่ของเราในนี้ก็คือการทำให้มันดูมีโครงสร้าง โดยการใช้วงจรสีและความกลมกลืนของสีในการที่จะสร้างความรู้สึกเป็นระเบียบขึ้นมา
สรุปก็คือ ความมีเอกภาพเกินไปทำให้ภาพดูน่าเบื่อ ความซับซ้อนเกินไปทำให้ภาพดูยุ่งเหยิง ความกลมกลืนจึงเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกลางที่สมดุลย์
โครงสีตรงข้าม (complementry)
สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี เช่น แดงกับเขียว,เหลืองกับน้ำเงิน,ส้มกับม่วง
สีที่ตัดกันสูงทำให้เกิดความรู้สึกสดใสโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ความอิ่มตัวของสีสูง แต่การใช้งานจะต้องดูดีๆเพราะว่ามันอาจจะขัดแย้งกันได้ สีตรงข้ามนั้นใช้ยากเมื่อใช้ปริมาณมาก แต่ใช้ดีถ้าคุณต้องการให้อะไรก็ตามเด่น และเมื่อใช้กับตัวอักษรจะเป็นสคีมสีที่ไม่ดีเท่าไร
สีข้างเคียง(Analogous)
สีข้างเคียงใช้สีที่อยู่ข้างๆกันในวงจรสีติดกันประมาณ 3-4 สี จึงเป็นสีที่มีความเข้ากันได้สูงและให้ความรู้สึกสบายตา
เลือกสีหนึ่งเพื่อให้เด่น,สีที่สองเพื่อสนับสนุน และสีที่สามมักจะใช้กับสีดำ,เทาหรือสีขาวเพื่อการเน้น
triad
สีแบบนี้คือสีที่มีระยะห่างเท่ากันในวงจรสี หรือสีที่เป็นสามเหลี่ยมด้านเท่าเมื่อวาดออกมาเป็นเส้นในวงจรสี ให้สีที่สด ถึงแม้จะใช้สีที่อิ่มตัวน้อยหรือสีซีดก็ตาม การใช้สีโครงนี้ให้ดีต้องใช้สีโทนหนึ่งเด่นและเน้นด้วยสีอีกสองสีอื่นๆ
split-complementary
สีโครงนี้เป็นความหลากหลายของสีตรงข้าม สังเกตุว่า split แปลว่าแยก complementary แปลว่าตรงข้าม จึงหมายถึงการแยกสีตรงข้ามออกจากกัน ก็คือมีสีเบสตัวหนึ่งและใช้สีที่อยู่ข้างๆสีตรงข้ามของสีนั้นทำให้กลายเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่วเมื่อวาดเป็นเส้น โครงสีนี้ให้ความตัดกันเหมือนกับโครงสีตรงข้ามแต่โครงสีมีความตึงเครียดน้อยกว่า เหมาะกับผู้เริ่มต้น เพราะทำพังยาก
โครงสีสี,หรือสีเหลี่ยมผืนผ้า (tetradic) color scheme บางทีก็เรียกว่า double complementary
สีโครงนี้ใช้สีตรงข้ามสองคู่ ด้วยความที่เป็นสีที่เยอะ ดังนั้นจึงมีรูปแบบที่หลากหลาย โครงสีสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้ได้ดีเมื่อให้สีหนึ่งเด่นเป็นพืเศษ และความดูความสมดุลย์ระหว่างสีร้อนและสีเย็นในรูปด้วย
โครงสีจัตุรัส
คล้ายโครงสีสี่เหลี่ยมผืนผ้า แต่ระยะห่างระหว่างสีในวงจรสีเท่ากัน เหมือนกับสคีมอื่นๆคือใช้ได้ดีเมื่อให้สีหนึ่งเด่นและดูความสมดุลย์ระหว่างสีร้อนและสีเย็นในรูป
reference:http://www.tigercolor.com/color-lab/color-theory/color-theory-intro.htm
http://www.colormatters.com/color-and-design/basic-color-theory
ลิงค์แนะนำให้อ่านประกอบ
วาดภาพประกอบ #2
อขบคุณนะคะพี่มุ่ยมีประโยชน์มากเลยคะ ตัวหนูเองมีปัญหาเรื่องการใช้สี(ชอบใช้สีที่จืดๆไ่ม่กล้าเล่นสี) พอมาอ่านบทความนี้ หนูจะเอาไปศึกษาและทดลองดูค่า 🙂
ยินดีค่ะ
[…] สีน้ำนั้นเป็นวัสดุที่โปร่งใส นั่นหมายความว่าเราสามารถเพนท์เป็นเลเยอร์ได้ สีสามารถที่จะดัดแปลง หรือสามารถระบายทับสีที่เลือกมาอย่างดีได้หลายครั้ง (คุณคงไม่อยากที่จะใช้เลเยอร์มากเกินไป เพราะมันจะทำให้สูญเสียความโปร่งใสของเลเยอร์ไป ทำให้สีเป็นโคลน และทำให้กระดาษนั้นห่วยลง)อย่างไรก็ตาม ในขณะที่คุณเพนท์จากเบามาหนัก มันก็เป็นไปได้ที่จะเปลี่ยนสีไปเลยโดยการใช้สีอ่อนกว่า หรืออย่างเช่น สีเหลือง บน สีแดง หรือ สีฟ้า มันจะช่วยทำให้สีทั้งสองอ่อนลงทำให้แดงกลายเป็นส้ม และน้ำเงินกลายเป็นเขียว สร้างให้เกิดสีทุตติยภูมิในวงจรสี […]