ประวัติของกฏสามส่วน
1.กฏสามส่วนไม่มีเส้นแทยงมุมใน grid การออกแบบ
เส้นแทยงมุมจำเป็นต่อความสำเร็จในการจัดองค์ประกอบใดๆไม่ว่าจะเป็นภาพเขียน,ภาพวาด,หรือภาพถ่าย เพราะว่ากฏสามส่วนไม่มีเส้นแทยงมุมในกริดการออกแบบ ศิลปินจึงไม่สามารถตัดสินตำแหน่งที่ดีที่สุดที่จะวางจุดสนใจภายในจุดตัดที่เรียกว่า “ตา” ก็เลยใช้แต่เส้นนอนและเส้นตั้งในการวางองค์ประกอบ ซึ่งทำให้จำกัดและบังคับให้ศิลปินต้องเดาตลอดเวลา
2. คุณไม่สามารถใช้กฏสามส่วนในการวิเคราะห์งานของบรมครูได้
เพราะว่างานของบรมครูได้ออกแบบไว้ซับซ้อนกว่ากฏสามส่วนนัก ในกฏสามส่วนคุณไม่สามารถวิเคราะห์หรือเรียนรู้อะไรก็ตามจากศิลปะ พูดง่ายๆคือ คุณไม่มีทรัพยากรพอที่จะศึกษา ในฐานะศิลปิน คุณต้องเป็นเหมือนนักสืบและมีทักษะที่จำเป็นที่จะถอดรหัสการจัดองค์ประกอบเหล่านั้น,ทฤษฎีสี และอื่นๆอีกมากมาย เมื่อคุณได้สำเร็จทักษะเหล่านี้แล้ว คุณสามารถค้นพบว่า ศิลปินชั้นบรมรมครูหรือศิลปินชั้นยอดท่านอื่นออกแบบงานได้อย่างไรและสามารถประยุกต์มันลงในงานของคุณได้
3. กฏสามส่วนสร้างความไม่สมดุลย์ในการจัดองค์ประกอบ
ถ้าการเป็นศิลปินอย่างไม่ระมัดระวังมันง่ายมากที่จะสร้างให้เกิดความไม่สมดุลน์ภายในงานโดยการใช้กริดของกฏสามส่วน เพราะว่ากฏสามส่วนดึงจุดสนใจคุณออกจากจุดศูนย์กลางของกรอบ และเข้าไปชิดขอบอีกด้านหนึ่ง มันไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่จะทิ้งส่วนที่เหลือของภาพ นักวาดจำนวนมากเชื่อว่า ตราบเท่าที่เขามีอะไรอยู่ในจุดตัดนั่น มันก็เป็นการออกแบบที่ดีเสมอ แย่หน่อยนะ มันไม่ใช่กรณีนี้ ความสมดุลย์ในการออกแบบเป็นสิ่งคอขาดบาดตายในการที่งานจะประสบความสำเร็จและทิ้งพื้นที่ที่ตายแล้วของอีกข้างหนึ่งทำให้ตาผู้ดูเกิดความไม่สมดุลย์ ในกรณีนี้มีข้อมูลที่คุณควรอ่านเพิ่มคือ Steelyard Principle
อ้างอิง:http://www.leicacameramonkey.com/blog/rule-of-thirds-vs-dynamic-symmetry
แอดไลน์เพื่อรับทิปและอัพเดทได้ค่ะ
Pingback: สิ่งที่สำคัญจริงๆแล้วคืออะไรใน การวาดรูป - ILLUSTCOURSE-คอร์สเรียนวาดรูป,วาดภาพประกอบ,เรียนวาดการ